ไขข้อข้องใจธุรกิจ SME VS Startup ต่างกันอย่างไร

ไขข้อข้องใจธุรกิจ SME VS Startup ต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าระหว่างธุรกิจ SME และ ธุรกิจ Startup คืออะไรและมีความแตกต่างกันอย่างไร มือใหม่เข้าสู่แวดวงธุรกิจเกิดความสงสัย เราจะพาทุกคนมารู้จักกับธุรกิจทั้ง 2 ประเภท ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร แล้วนักลงทุนมือใหม่อย่างเราควรเลือกธุรกิจแบบไหนดี มาร่วมไขข้อข้องใจเหล่านี้ไปพร้อมกันเลย


ทำความรู้จักธุรกิจ SME และ ธุรกิจ Startup

ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อนว่าธุรกิจ 2 ตัวนี้คืออะไรกันแน่เพื่อทำความเข้าใจและประกอบการตัดสินใจในการลงทุนสร้างธุรกิจของตนในอนาคต

SME ย่อมาจากคำว่า Small and Medium Enterprises หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินกิจการครอบคลุมกิจการด้านการผลิต ด้านการค้า และด้านบริการ ทั้งธุรกิจอาหาร การเกษตรหรือโรงแรมขนาดเล็ก เป็นต้น เกณฑ์ในการแบ่งขนาดธุรกิจขึ้นอยู่กับรายรับของธุรกิจต่อปี และจำนวนการจ้างพนักงานในองค์กร อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

Startup คือ กิจการที่มีโมเดลธุรกิจในการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการสร้างขึ้นพร้อมแนวคิดในการแก้ปัญหาที่มีอยู่ โดยเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ และเน้นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด Steve Blank ผู้ได้ได้รับฉายานามว่าเป็นบิดาแห่งสตาร์ทอัพ ให้คำนิยาม startup ว่า “a startup is an organization formed to search for a repeatable and scalable business model” หมายความว่า “สตาร์ทอัพคือกิจการที่ตั้งขึ้นเพื่อค้นหาโมเดลธุรกิจ (business model) ที่ทำซ้ำได้ (repeatable) และขยายตัวได้ (scalable)” ส่วนใหญ่ธุรกิจ startup เป็นธุรกิจใหม่และยังเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจที่จะช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์ให้การใช้ชีวิตของคนทั่วไปให้สะดวก รวดเร็ว และดียิ่งขึ้น


ความแตกต่างของ SMEs และ Startup

ความแตกต่างของ SMEs และ Startup

หลายคนอาจยังมองไม่ออกว่าแล้วความแตกต่างของ SMEs และ Startup คืออะไรกันแน่ฟังดูก็เหมือนธุรกิจคล้าย ๆ กัน หากแบ่งตามขนาดของธุรกิจ การเริ่มต้น เงินทุนและเงินหมุนในการทำธุรกิจ สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่าง 2 ธุรกิจได้ดังนี้


ขนาดของธุรกิจ : Scale

  • SMEs : เป็นธุรกิจขนาดเล็กไปถึงขนาดกลาง แบ่งขนาดตามเกณฑ์ของรายได้ต่อปีและจำนวนพนักงานในองค์ มีการเติบโตแบบคงที่และอาจใช้เวลาหลายปีในการประสบความสำเร็จ
  • Startup : เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากขนาดเล็กและมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในระยะเวลาสั้นๆ ไม่มีลิมิตในการเติบโต สามารถปรับตัวและต่อยอดธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

เงินลงทุน : Funding

  • SMEs : เงินทุนส่วนใหญ่มาจากเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการอาจได้รับการสนับสนุนจากแหล่งอื่นบ้างรวมไปถึงการกู้ยืมจากธนาคาร มีเงินลงทุนในกิจการค่อนข้างจำกัดเพราะมาจากเจ้าของกิจการ
  • Startup : ส่วนใหญ่มาจากการระดมทุนกับนักลงทุนที่สนใจ โดยนักลงทุนจะเป็นผู้ลงทุนในกิจการให้ก่อนเพื่อรอรับผลประโยชน์และผลตอบแทนในอนาคต

เทคโนโลยีและนวัตกรรม : Innovations

  • SMEs : ใช้เทคโนโลยีที่ตอบสนองกับกระบวนการผลิตเดิมโดยมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอาจไม่ใช่ไอเดียและเทคโนโลยีที่ใหม่มาก ทำให้รูปแบบผลิตภัณฑ์หรือการบริการมีความคล้ายคลึงกับสินค้าชนิดเดียวกันในท้องตลาด
  • Startup : ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการขับเคลื่อนธุรกิจและตอบสนองความต้องการบางอย่างของลูกค้า ผลผลิตที่ได้รูปแบบใหม่ไม่ซ้ำใคร หรืออาจเป็นการต่อยอดและพัฒนานวัตกรรมเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผลตอบแทน : Profit

  • SMEs : ผลตอบแทนของธุรกิจ SMEs เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้อยู่ในรูปแบบผลกำไรจึงจะทำให้ธุรกิจมีการเจริญเติบและพัฒนาไปข้างหน้า หากธุรกิจนั้น ๆ ขาดทุน อาจมีผลต่อการพัฒนาของบริษัท
  • Startup : ผลตอบแทนในธุรกิจนี้อาจวัดที่นามธรรมผลตอบแทนคือ การเติบโตของบริษัทและผลผลิตที่สามารถนำมาใช้และเกิดประโยชน์ต่อสังคมหรืออาจมาในรูปแบบของสินทรัพย์ทางปัญญา เป็นต้น แม้เงินอาจไม่เป็นผลตอบแทนหลักแต่ก็มีความสำคัญและจำเป็นต่อการลงทุนในขั้นถัด ๆ ไป

ระหว่างธุรกิจ SME VS Startup นักลงทุนมือใหม่เลือกแบบไหนดี

หากให้ตอบว่าธุรกิจแบบไหนดีกว่ากันอาจเป็นคำตอบที่ตอบได้ยาก เพราะอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกันทั้งความชอบส่วนตัว รูปแบบการทำธุรกิจ เงินลงทุน รวมถึงข้อดีข้อเสียของธุรกิจทั้ง 2 ประเภทว่าเราสามารถยอมรับความเสี่ยงในรูปแบบใดได้บ้าง แน่นอนว่าไม่ว่ารูปแบบธุรกิจยอมมีความเสี่ยงเสมอดังนั้นการมีความรู้อย่างครอบคลุมทุกส่วนในการบริหารจัดการธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ธุรกิจนั้น ๆ สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ หากเลือกว่าเราเหมาะกับธุรกิจรูปแบบไหนสามารถพิจารณาความเหมาะสมจากสิ่งสำคัญต่อไปนี้เช่น

  • ขนาดเริ่มต้นธุรกิจและการเติบโต
  • แนวคิดเริ่มต้นการทำธุรกิจ
  • แบบแผนในการทำธุรกิจ
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจ
  • แหล่งเงินทุนในการเริ่มต้นทำธุรกิจ
  • ผลตอบแทนที่คาดหวัง

อย่างไรก็ตามแม้ว่าธุรกิจรูปแบบ SMEs และ Startup จะมีความแตกต่างกันแต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า สินค้าหรือบริการของเราตอบโจทย์และสามารถแก้ไขความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้หรือไม่ เพราะแน่นอนว่าเราอาจเริ่มธุรกิจจากความชอบส่วนตัวแต่การพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการและเข้าถึงลูกค้าได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายมีส่วนทำให้ธุรกิจสามารถพัฒนาและเติบโตอย่างมั่นคง อีกทั้งการวางแผนรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงของตลาดก็สำคัญเช่นกัน หากไม่ปรับตัวธุรกิจก็อาจจะเดินหน้าต่อไปได้ยาก
หากใครที่กำลังตัดสินใจว่าเหมาะเหมาะกับธุรกิจแบบไหนอาจต้องพิจารณาโดยยึดหลาย ๆ อย่างประกอบการตัดสินใจอีกทั้งควรเริ่มต้นธุรกิจให้เหมาะกับกำลังที่เรามีทั้งด้านกำลังทรัพย์ องค์ความรู้ และการบริหารจัดการในทุกส่วนของการทำธุรกิจ
Posted in SME